บทที่ 7 การติดตั้งสายสัญญาณคอมพิวเตอร์


7.1 ต่อแหล่งจ่ายไฟเมบอร์ด



                 ขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้งสายชนิดต่างๆ ที่อยู่ภายในตัวเคสเข้ากับเมนบอร์ดเพื่อให้
เครื่องทำงานได้ ซึ่งได้แก่ สายจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด, สาย Power LED , สาย Power Switch , สาย HDD LED , สาย Reset และสาย  Speaker ซึ่งเป็นสายหลักที่จะต้องมีในทุกเครื่อง  สายไฟหรือสายสัญญาณต่างๆ  ที่จะต้องต่อภายในเครื่องจากเมนบอร์ดมายังปุ่ม และไฟที่อยู่หน้าเครื่อง และลำโพงภายในตัวเครื่อง  ซึ่งจำเป็นมากเพราะเสียงสามารถเป็นตัวบอก  ให้ทราบว่าส่วนใดมีปัญหา การเชื่อมต่อสายหน้าเครื่องเข้ากับเมนบอร์ด ขั้วสำหรับต่อสายต่างๆ เข้ากับหน้าเครื่องได้แก่ สวิทช์ปิด-เปิดเครื่อง , ไฟสถานะการเปิดเครื่อง , ปุ่ม RESET, ลำโพง , ไฟสถานะฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น


 ต่อสายจ่ายไฟเลี้ยงเมนบอร์ด 
1.  มองหาช่องรับไฟเลี้ยงบนเมนบอร์ดซึ่งเป็นขั้วสีขาวมีจำนวน 20 ช่อง เมื่อพบแล้วให้เตียม
จัดขั้วจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไว้


2.  นำสายจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไปเสียบกับช่องรับไฟ เลี้ยงสีขาวบนเมนบอร์ดให้ด้านที่มี
หัวล็อคตรงกัน     


3.  หลังจากนั้นให้เสียบสายจ่ายไฟลงไปบนช่องรับไฟเมนบอร์ดให้แน่น

สายสัญญาณเครื่อง
1.  ตรวจดูสาย Pin สำหรับเสียบสายสัญญาณบนเมนบอร์ดเปรียบเทียบกับภาพในคู่มือเมนบอร์ด
เพื่อให้ขาสัญญาณสำหรับสายชนิดต่างๆ
2.  เมื่อทราบตำแหน่งที่ตั้งขาเสียบสายสัญญาณแล้วให้นำสายสัญญาณภายในเคสไปเสียบเข้ากับ
ขาเสียบบนเมนบอร์ด

      

เสียบสายไฟและสายสัญญาณให้ตรงกัน
หลังจากเสียบสายสัญญาณทุกเส้นแล้วให้นำฝาเคสมาปิดให้เรียบร้อย
ก็จะได้ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่  
ที่ประกอบไว้พร้อมสำหรับการติดตั้งระบบต่อไป

7.2 แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์

     แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX



7.3 ประเภทของแหล่งจ่ายไฟ


ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่นฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)

 ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้

ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX

ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)

ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น

7.4 หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย


พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง

[แก้]